พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา
ขอบเขตและที่ตั้ง
พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฉลุง ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล ตำบลควนโดน ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูลเนื้อที่ตามประกาศเขตห้ามล่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา 20,432 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,770 ไร่พื้นที่อ้างอิงตามทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติของประเทศไทย (สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแผนสิ่งแวดล้อม, 2542)
สถานภาพทางกายภาพ
สภาพภูมิประเทศมีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาและหนองน้ำ ล้อมรอบด้วยที่นา สวนยาง และสวนผลไม้ของชุมชน พื้นที่บริเวณที่เป็นภูเขาเป็นภูเขาหินปูนสูงชันสลับซับซ้อนเป็นแนวยาวจากได้จรดเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร มีพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,500 ไร่ ส่วนที่เป็นหนองน้ำมีพื้นที่ประมาณ 0.432 ตารางกิโลเมตร หรือ 270 ไร่ มีถนนล้อมรอบปลูกต้นไม้ไว้ตลอดแนว มีการพัฒนาพื้นที่โดยการขุดลอกคูและสร้างคันดินเป็นถนนล้อมรอบหนองการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ไม้ผล คิดเป็นร้อยละ 54.73 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมา คือ ป่าดิบ และนาข้าว ตามลำดับ ที่เหลือเป็นนาข้าว ชุมชนและสิ่งก่อสร้างไม้ยืนต้น ทุ่งหญ้า แม่น้ำลำคลองหนอง บึงสระน้ำบ่อน้ำ บ่อลูกรังที่ลุ่ม ป่าปลูก ป่าชายเลน และสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
คุณภาพน้ำภายในพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม และจัดอยู่ในมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 4 ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่ออุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษก่อนหรือเพื่อการอุตสาหกรรม
สถานภาพทางชีวภาพ
ทรัพยากรป่าไม้ พบพรรณไม้รวม 316ชนิด จาก 254 สกุล 98 วงศ์ เช่น มะม่วง MangiferaindicaL. เหลืองปรีดิยาธร Cybistaxdonnell-smithii(Rosc.) Seibert สนประดิพัทธ์ CasuarinajunghuhnianaMiq. หูกวางTerminaliacatappa L.ราชพฤกษ์ Cassia fistula L. หางนกยูงฝรั่ง Delonixregia (Bojer ex Hook.) Raf. กระถินณรงค์ Acacia auriculaeformisA.Cunn. exBenth. สะเดา AzadirachtaindicaA.Juss. var. siamensisValeton ยูคาลิปEucalyptus camaldulensisDehnh. และมะพร้าว CocosnuciferaL. var.nucifera
พบพืชหายากที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ระดับชาติ คือ นมแมว Uvariasiamensis (Scheff.) L.L.Zhou, Y.C.F.Su&R.M.K.Saurnders
พบพืชต่างถิ่นที่รุกรานรายการ 1 ได้แก่ หงอนไก่ไทย Celosia argentea L. สาบเสือ Chromolaenaodorata (L.) R.M.King&H.Rob.ขี้เหล็กย่าน Mikaniacordata (Burm.f.) B.L.Rob. หญ้ายาง Euphorbia heterophylla L. แมงลักคา Hyptissuaveolens (L.)Poit.กระถิน Leucaenaleucocephala (Lam.) de Wit ไมยราบยักษ์ Mimosa pigra L. ผกากรอง Lantana camara L. หญ้าคา Imperatacylindrica (L.) P.Beauv. หญ้าขจรจบPennisetumpolystachyon (L.)Schult. และผักตบชวา Eichhorniacrassipes (Mart.) Solmsพบพืชต่างถิ่นที่รุกรานรายการ 2 ได้แก่ ผักขมหนาม Amaranthusspinosus L. และตะขบฝรั่ง Muntingiacalabura L.
ทรัพยากรสัตว์ป่า พบสัตว์ป่าที่มีสถานภาพด้านการอนุรักษ์ของสัตว์ป่าที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การจัดสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ประกอบด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 8 ชนิด สัตว์จำพวกนก 2 ชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน 2 ชนิดเช่นค่างแว่นถิ่นใต้(Trachypithecusobscurus) ชะนีมือขาว(Hylobateslar) พญากระรอกเหลือง(Ratufaaffinis) ไก่จุก(Rollulusroulou) นกกระสาแดง(Ardeapurpurea) งูจงอาง(Ophiophagus Hannah) เต่าหับ(Cuoraamboinensis) เป็นต้น
ทรัพยากรปลา พบปลาทั้งสิ้น 35 ชนิด จาก 14 วงศ์โดยเป็นชนิดที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (VU-Vulnerable species) ได้แก่ ปลาดุกอุย Clariasmacrocephalus และปลาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานแล้ว คือปลานิลOreochromisniloticus
ทรัพยากรสัตว์หน้าดิน พบสัตว์หน้าดินทั้งสิ้น 3ชนิด จาก 2ไฟลัม2 ชั้น 2 อันดับ 3 วงศ์มีปริมาณความชุกชุมของสัตว์หน้าดินเฉลี่ย 267 ตัวต่อตารางเมตร ไฟลัมArthropoda มีปริมาณความชุกชุมมากที่สุด รองลงมา คือ ไฟลัมAnnelida
คุณค่าการใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นแหล่งพักผ่อนของคนท้องถิ่น ซึ่งมีหอชมนก ศูนย์บริการท่องเที่ยว เพื่อให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยว การใช้ประโยชน์อื่นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายควบคุมดูแลพื้นที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศและศึกษาธรรมชาติ
ครัวเรือนโดยรอบพื้นที่ชุ่มน้ำ 4,760 ครัว ประกอบอาชีพหลัก คือ ทำนา สวนยางพารา และสวนผลไม้ รองลงมา คือ รับจ้างทั่วไป (เช่น กรีดยาง ทำประมงพื้นบ้าน และบริการการท่องเที่ยว) และ ค้าขายพบว่ามีการใช้ประโยชน์น้อยเนื่องจากพื้นที่เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ ซึ่งมีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดังนั้นการคิดมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจคิดจากการมีรายได้จากบริการร้านอาหารแก่นักท่องเที่ยว การทำการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของครัวเรือนที่อยู่บริเวณรอบพื้นที่ชุ่มน้ำ มีมูลค่าประมาณ 0.2 ล้านบาท/ปี
การจัดการและการคุกคาม
การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีกฎระเบียบการเข้าใช้พื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งได้รับการยอมรับและปฏิบัติตามจากชุมชน/สังคม ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ มีรูปแบบการอนุรักษ์โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบการใช้พื้นที่อนุรักษ์ การปลูกป่า การปล่อยสัตว์น้ำตามคลอง ปัจจุบันชาวบ้านตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์มากขึ้น มีการจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระดับตำบล ปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ การขาดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของประชาชนในบางพื้นที่ และขาดงบประมาณในการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่
การคุกคามในพื้นที่ ได้แก่ การตื้นเขินของหนองน้ำ วัชพืช(จอก)ปกคลุมผิวน้ำ สภาวะแห้งแล้ง น้ำเน่าเสียจากการทับถมของใบบัวในพื้นที่หนองปลักพระยาและมีการลักลอบล่าสัตว์ป่า เช่น นก กระรอก พบผู้กระทำผิดน้อยมากเนื่องจากมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด การคุกคามดังกล่าวจัดเป็นการคุกคามที่ไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำและส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมน้อย เนื่องจากผู้นำชุมชนได้ให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน
แผนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
ขออภัย! เนื่องจากขณะนี้กำลังกำลังปรับปรุงข้อมูลในส่วนนี้อยู่ครับ
คลิกเพื่อ Download File ฉบับสมบูรณ์ Click