บทที่ 5 ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์โดยวิธี MPA

        แนวทางและข้อกำหนดพื้นที่คุ้มครองทางทะเล หรือ Marine Protected Area (MPA) จัดทำขึ้นโดย International Union for Conservation of Nature (IUCN) ร่วมมือกับ World Wide Fund for Nature (WWF) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกเพื่อการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวชี้วัดรวม 68 ตัวชี้วัด ที่ครอบคลุมทุกด้านในการบริหารจัดการพื้นที่อันประกอบไปด้วย ตัวชี้วัดทางด้านกายภาพ-ชีวภาพ (26 ตัวชี้วัด) ด้านเศรษฐกิจ-สังคม (21 ตัวชี้วัด) และด้านการปกครอง (21 ตัวชี้วัด)ในการศึกษานี้ผู้ศึกษาได้นำตัวชี้วัดทั้งหมดมาใช้ในเพื่อการประเมินผลการบริหารจัดการพื้นที่ โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพื้นที่การสัมภาษณ์ และสอบถามโดยการใช้แบบสอบถามจากหน่วยงานผู้บริหารจัดการพื้นที่และหน่วยงานผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษาทรัพยากรแต่ละด้าน นักวิชาการ และ/หรือหัวหน้าชุมชนรวมทั้งการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ประกอบกับข้อมูลจากการประชุมระดมความคิดเห็นในการนำเสนอผลการศึกษาในแต่ละพื้นที่


1.ผลการประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัด MPA
        จากการรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัด MPA เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือกรอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆของพื้นที่แรมซาร์ไซต์นั้น พบว่าประเด็นมุ่งเน้น/ตัวชี้วัดที่พื้นที่แรมซาร์ไซต์ส่วนใหญ่ยังขาดหรือมีข้อจำกัดและต้องการการจัดการเร่งด่วนสามารถสรุปได้ดังนี้
        ตารางที่ 5-1 สรุปประเด็นที่ควรมุ่งเน้นในการบริหารจัดการจากผลการรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัด MPA

2.ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยเครื่องมือ MPA-MEAT
         สำหรับการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยเครื่องมือ MPA MEAT นั้น สามารถสรุปผลการประเมินฯได้ดังนี้
          ตารางที่ 5-2 สรุปภาพผลรวมการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ด้วยเครื่องมือ MPA MEAT



          รูปที่ 5-1 สรุปผลจัดลำดับพื้นที่แรมซาร์ไซต์ ตามผลการประเมิน MPA MEAT MPA MEAT
3.จุดแข็งและจุดอ่อนของการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์
        ในการประเมินด้วยเครื่องมือ MPA-MEAT มีการจัดระดับความมุ่งเน้นในการบริหารจัดการโดยแยกกลุ่มความมุ่งเน้นออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่
        1) การจัดทำแผนการบริหารจัดการโดยกระบวนการมีส่วนร่วม
        2) มีการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการที่มีอำนาจหน้าที่ชัดเจน
        3) มีเครื่องมือทางกฎหมายที่ได้รับการยอมรับ
        4) การมีส่วนร่วมและการยอมรับของชุมชนในกรอบแนวคิดของพื้นที่แรมซาร์ไซต์
        5) ด้านการเงิน
        6) การสื่อสาร ให้ความรู้ความเข้าใจ และการศึกษา
        7) การบังคับใช้กฎหมาย
        8) การติดตามสถานภาพและประเมินผล
        9) การพัฒนาพื้นที่และขยายขอบเขตการคุ้มครอง

        จุดแข็งของการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ 4 อันดับแรก ได้แก่
        1) การบังคับใช้กฎหมาย พบว่า หน่วยงานบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์เกือบทั้งหมด มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด พบว่ามีการดำเนินการต่อผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยที่หน่วยงานบริหารจัดการพื้นที่มีการรายงานการกระทำผิดและสามารถตัดสินความได้ในบางกรณี
        2) ด้านการสื่อสาร ให้ความรู้ความเข้าใจ และการศึกษา โดยหน่วยงานบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ส่วนใหญ่มีการปฏิสัมพันธ์กับชุมชน มีการสื่อสารสร้างความรู้
ความเข้าใจในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการจัดทำสื่อความรู้สำหรับผู้ที่เข้าชมพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
        3) ด้านการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการที่มีอำนาจหน้าที่ชัดเจน พบว่า พื้นที่แรมซาร์ไซต์ส่วนใหญ่ มีการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการ
พื้นที่อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มจัดตั้งพื้นที่แรมซาร์ไซต์ พร้อมทั้งการให้คำปรึกษาในกิจกรรมการจัดการพื้นที่และให้การสนับสนุนทางเทคนิคกับชุมชนหรือหน่วยงานท้องถิ่นเมื่อมีความต้องการ โดยมีพื้นที่แรมซาร์ไซต์จำนวน 6 แห่ง ที่มีคะแนนในการประเมินด้านนี้เต็ม 100%
        4) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ในหลายๆพื้นที่ ชุมชนโดยรอบมีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่แรมซาร์ไซต์ มีความร่วมมือกับหน่วยงานบริหารจัดการในการดูแลการ
ใช้ทรัพยากรในพื้นที่

        จุดอ่อน/ปัญหา/ข้อจำกัดของการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ 3 อันดับแรก ได้แก่
        1) ด้านการติดตามสถานภาพของทรัพยากร พบว่า พื้นที่แรมซาร์ไซต์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการติดตามสถานภาพของทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เนื่องมาจากข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากร โดยมีพื้นที่แรมซาร์ไซต์จำนวน 8 แห่ง ที่มีคะแนนความมุ่งเน้นในการจัดการในด้านนี้อยู่ในระดับเร่งด่วน และอีก 5 แห่งมีคะแนนความมุ่งเน้นในระดับปานกลาง
        2) ด้านการเงิน พบว่า หน่วยงานบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ทุกแห่งไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นการเฉพาะ มีเพียง
การจัดสรรงบประมาณทั่วไปเพื่อการดำเนินการในภารกิจหลักเท่านั้น โดยจากผลการประเมินมีพื้นที่แรมซาร์ไซต์จำนวน 5 แห่งที่มีคะแนนความมุ่งเน้นในการจัดการในด้านนี้อยู่ในระดับเร่งด่วน และอีก 9 แห่งมีคะแนนความมุ่งเน้นในระดับปานกลาง
        3) การจัดทำแผนการบริหารจัดการโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เนื่องจากพื้นที่แรมซาร์ไซต์หลายแห่งไม่ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการพื้นที่เป็นการเฉพาะ จึงไม่ได้มีการร่างแผนการจัดการสำหรับพื้นที่แรมซาร์ไซต์โดยตรง ในส่วนของแรมซาร์ไซต์ที่มีหน่วยงานบริหารจัดการพื้นที่พบว่าส่วนใหญ่เป็นแผนตามยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน อาทิ อุทยานแห่งชาติ ซึ่งมิได้เป็นแผนการจัดการเฉพาะสำหรับพื้นที่แรมซาร์ไซต์ โดยในด้านนี้มีพื้นที่แรมซาร์ไซต์จำนวน 4 แห่ง ที่มีคะแนนความมุ่งเน้นในการจัดการในด้านนี้อยู่ในระดับเร่งด่วน และอีก 5 แห่งมีคะแนนความมุ่งเน้นในระดับปานกลาง
4.สรุปผลการใช้เครื่องมือ MPA และ MPA-MEAT ในการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
        จากการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการโดยเครื่องมือ MPA-MEAT นั้นจะเห็นได้ว่ามีพื้นที่แรมซาร์ไซต์หลายพื้นที่ ที่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการและสามารถจัดอันดับในระดับ 2 หรือ 3 ได้ แต่ไม่ผ่านการประเมิน เนื่องจากไม่ผ่านการประเมินในระดับที่ 1 เพราะมีประเด็นมุ่งเน้นไม่ครบตามที่กำหนด โดยประเด็นมุ่งเน้นที่กำหนดในระดับ 1 ที่พื้นที่แรมซาร์ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมิน ได้แก่ ประเด็นการประเมินสถานภาพทางกายภาพ-ชีวภาพ เมื่อเริ่มมีการจัดตั้งพื้นที่แรมซาร์ไซต์ รองลงมาได้แก่ประเด็นการยอมรับแผนการบริหารจัดการและเครื่องมือทางกฎหมายจากผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างของการจัดตั้งพื้นที่แรมซาร์ไซต์ในประเทศไทยในอดีตมีแรงขับเคลื่อนมาจากหน่วยงานภาครัฐ โดยมีนโยบายลงสู่หน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งต่างกับการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในระดับนานาชาติซึ่งมีแรงขับเคลื่อนมาจากชุมชนเป็นหลัก
        จากผลการศึกษาพบว่าเครื่องมือ MPA และ MPA MEAT ยังไม่ครอบคลุมในบางประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องในด้านการบริหารจัดการ ดังต่อไปนี้
        1) ทั้งเครื่องมือ MPA และ MPA MEAT ไม่ได้มีตัวชี้วัดด้านความชัดเจนของแนวเขต/การกำหนดขอบเขตพื้นที่แรมซาร์ไซต์
        2) ในเครื่องมือ MPA ไม่ได้ครอบคลุมตัวชี้วัดหลักด้านปัญหาการคุกคามในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการคุกคามต่อพืช/สัตว์/ถิ่นอาศัย โดยตรง
        3) แม้ว่าภัยคุกคามจะเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในเครื่องมือ MPA แต่ในส่วนของเครื่องมือ MPA MEAT ไม่ได้มีการผนวกตัวชี้วัดทางด้านการคุกคามและการจัดการภัยคุกคาม
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือ มีเพียงตัวชี้วัดในด้านการประเมินสถานภาพเท่านั้น
คลิกเพื่อ Download File บทที่ 5 ฉบับสมบูรณ์   Click