บทที่ 6 สรุปและข้อเสนอแนะ

        การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ด้วยวิธีRamsar site Management Effectiveness Tracking Tool หรือ R-METT และ Marine Protected Area Management Effectiveness Assessment Tool หรือ MPA นั้น ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์และประเมินโดยใช้ข้อมูลสำหรับการประเมินจากแหล่งต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ ผลการศึกษาสถานภาพและการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำจากผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรแต่ละด้าน และการสัมภาษณ์และสอบถามโดยการใช้แบบสอบถามและดำเนินการจัดประชุมระดมความเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมต่อผลการศึกษาสถานภาพและผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำสามารถสรุปและเสนอแนะผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้ดังนี้


1.สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในภาพรวม
        จากการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์โดยวิธี R-METT เปรียบเทียบกับวิธี MPAสามารถสรุปผลการประเมินฯ ในภาพรวม ดังนี้



         ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการแรมซาร์ไซต์ตามตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการ ในแต่ละวิธี สามารถสรุปจุดแข็งและจุดอ่อน/ข้อควรปรับปรุงด้านการบริหารจัดการพื้นที่ 3 อันดับแรก ดังนี้

2.สรุปผลการเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์
        1) ความแตกต่างของดัชนีชี้วัดของเครื่องมือประเมิน
            การเปรียบเทียบถึงความเหมือนและแตกต่างของดัชนีชี้วัดด้านการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ของ R-METT โดยใช้ดัชนีใน Data Sheet 4:Assessment form
และของ MPA MEATเนื่องจากเป็นดัชนีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโดยตรงและมีระบบการให้คะแนนคล้ายกันทั้ง 2 เครื่องมือ
            ในการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง คณะผู้ศึกษาได้จัดกลุ่มของดัชนีชี้วัดใหม่แบ่งเป็น 3 กลุ่มแล้วนับจำนวนดัชนีชี้วัดทั้งสองเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
ที่สัมพันธ์กับกลุ่มดัชนีที่จัดขึ้นใหม่แล้วใช้การทดสอบหาความแตกต่างโดยใช้ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test ซึ่งเป็นการทดสอบค่าทางสถิติแบบ Non-parametric การทดสอบนี้เป็นการทดสอบข้อมูล 2 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน เพื่อทดสอบว่าข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสองไม่แตกต่างกันหรือไม่ เป็นการทดสอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด มักนิยมใช้เพื่อเลี่ยงการใช้ทดสอบแบบที่ใช้พารามิเตอร์ หรือเมื่อข้อมูลมีมาตราวัดต่ำกว่าแบบอันตรภาค
           ผลการทดสอบโดยใช้ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test พบว่าที่ค่าความเชื่อมั่น α= 0.5ดัชนีชี้วัดของ MPA MEAT และ R-METT มีตัวชี้วัดไม่แตกต่างกันกล่าวโดยสรุปคือภาพรวมของดัชนีชี้วัดทั้งสองเครื่องมือมีความคล้ายคลึงกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

        2) การเปรียบเทียบผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการแรมซาร์ไซต์
        การวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำครั้งนี้ใช้การทดสอบค่าทางสถิติแบบ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test เปรียบเทียบผลคะแนนในแต่ละกลุ่มที่จัดทำขึ้นใหม่ ซึ่งผลการทดสอบในพื้นที่แรมซาร์ไซต์ทั้ง 14 แห่ง พบว่าเครื่องมือ R-METT และ MPA MEATให้ผลการประเมินสอดคล้องกันในทุกพื้นที่ โดยมีค่านัยสำคัญ (α) มากกว่า 0.05 แสดงว่าเครื่องมือทั้ง 2 ประเภท สามารถใช้ทดแทนกันได้
คลิกเพื่อ Download File บทที่ 6 ฉบับสมบูรณ์   Click