บทที่ 3 แนวคิดและวิธีการศึกษา


1.กรอบการศึกษาของโครงการ
        การดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ในการทบทวนสถานภาพ ประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ การจัดทำแผนการจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ของประเทศไทยและพื้นที่ชุ่มที่มีศักยภาพในการเสนอเป็นแรมซาร์ไซต์ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ และผลักดันไปสู่การปฏิบัติถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมาย และการจัดทำรายงานแห่งชาติต่อไปนั้น มีกรอบแนวคิดในการศึกษา ดังรูปที่ 3-1

        รูปที่ 3-1 กรอบแนวคิดในการศึกษาโครงการ
2.พื้นที่ศึกษา
          พื้นที่ศึกษาตามโครงการประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือแรมซาร์ไซต์จำนวน 14 แห่ง และพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีศักยภาพในการเสนอเป็นพื้นที่แรมซาร์ไซต์ในอนาคต จำนวน 2แห่งดังรายละเอียดดังนี้

2.1 พื้นที่ชุ่มที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
          ตามข้อกำหนดโครงการฯ ได้กำหนดให้ทำการศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศของไทยจำนวน 14 แห่ง ดังตารางที่ 3-1

          ตารางที่ 3-1 พื้นที่ชุ่มที่มีความสำคัญระหว่างประเทศของไทย


2.2 พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีศักยภาพในการเสนอเป็นพื้นที่แรมซาร์ไซต์ในอนาคต
        ในการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ มีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
        เป้าหมาย : พื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นพื้นที่แรมซาร์ไซต์ทั้งจากภายในประเทศและจากสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่
ชุ่มน้ำ(RamsarSecretariat)
        เกณฑ์การคัดเลือก: ได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกและระดับคะแนน ดังตารางที่ 3-3 ต่อไปนี้
        1) ในระดับประเทศ กำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้
            1.1) สถานภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำ
            1.2) การสนับสนุนจากหน่วยงานในระดับจังหวัด/พื้นที่
            1.3) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสนอพื้นที่เป็น Ramsar site
            1.4) แนวเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ
        2) ในระดับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้
            2.1) ความพร้อมของข้อมูล
        ผลการคัดเลือก:
            (1) พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรี
            (2) พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา จังหวัดสตูล
3.การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์
        การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ จะใช้ข้อมูลสำหรับการประเมินจากแหล่งต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมรอบด้าน ดังนี้
             • ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือการประเมินประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่คุ้มครองมา ได้แก่ Marine Protected Area Management Effectiveness Assessment Toolหรือ MPA-MEAT และ Ramsar site Management Effectiveness Tracking Tool หรือ R-METT
              • ผลการศึกษาสถานภาพและการคุกคามพื้นที่จากผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรแต่ละด้าน
              • การสัมภาษณ์และสอบถามโดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามจะประกอบด้วย 2 ชุดข้อมูล ได้แก่ ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ประเมินการคุกคามพื้นที่
ซึ่งแบบสอบถามชุดที่ 1 นี้จะใช้สอบถาม หน่วยงานผู้บริหารจัดการพื้นที่และหน่วยงานผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษาสำรวจทรัพยากรแต่ละด้าน นักวิชาการ และ/หรือ หัวหน้าชุมชน ส่วนแบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ประเมินหน่วยงานผู้บริหารจัดการพื้นที่และหน่วยงานผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่
              • การจัดประชุมระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ เพื่อพิจารณาและอภิปรายผลการสำรวจเบื้องต้นด้วยแบบสอบถาม และรับฟังข้อมูลเพิ่มเติม ข้อเสนอแนะในการ
sปรับปรุง/เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในแต่ละพื้นที่
              • วิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำจากเครื่องมือทั้ง 2 ชุด คือ R-METT และ MPA เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
4.การสำรวจสถานภาพของพื้นที่แรมซาร์ไซต์และพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีศักยภาพในการเสนอเป็นแรมซาร์ไซต์
        การศึกษาสถานภาพโดยรวม จะดำเนินการศึกษาให้ครอบคลุมในทุกมิติในระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งประกอบด้วย ด้านด้านกายภาพ เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ ขอบเขต ลักษณะทางภูมิประเทศ ทรัพยากรดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านชีวภาพและนิเวศวิทยา เช่น ลักษณะทางนิเวศวิทยาบนบกและแหล่งน้ำ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า นก ปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate) รวมทั้งสัตว์หน้าดิน (soil fauna) เป็นต้น ด้านเคมีและคุณภาพน้ำ เช่น สารเคมีปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำซึ่งเป็นปัจจัยคุกคามต่อระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำ และด้านเศรษฐกิจ-สังคมการใช้ประโยชน์และการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยพื้นที่ศึกษาจะครอบคลุมพื้นที่แรมซาร์ไซต์ทั้ง 14 แห่ง และพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีศักยภาพในการเสนอเป็นแรมซาร์ไซต์ ในอนาคต อย่างน้อย ๒ แห่งซึ่งลักษณะพื้นที่และขอบเขตพื้นที่แรมซาร์ไซต์ ทั้ง 14 แห่ง และพื้นที่ชุ่มน้ำที่ศึกษาคัดเลือกให้เป็นพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการเสนอเป็นแรมซาร์ไซต์ อีก 2 แห่งข้อมูลจากการศึกษาจะนำมาใช้ในการประเมินสถานภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำ ทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ และพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีศักยภาพในการเสนอเป็นพื้นที่แรมซาร์ไซต์ในอนาคต
5. การทบทวนสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำ
        การประเมินสถานภาพเพื่อทบทวนสถานภาพและจัดลำดับความสำคัญ โดยใช้เกณฑ์ประเมินจำนวน 3 เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์สถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำที่คณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเห็นชอบ จากการประชุมครั้งที่ 3/2557 วันที่ 29 กันยายน 2557 (เกณฑ์อยู่ในรายงานการประชุมครั้งที่ 2 วันที่9 เมษายน 2558)เกณฑ์การพิจารณาลำดับความสำคัญพื้นที่ชุ่มน้ำของไทย และการประเมินสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำสำหรับกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ(Ramsar Site)
6.การติดตามตรวจสอบพื้นที่ชุ่มน้ำ
        การติดตามตรวจสอบระดับการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำโดยใช้การประเมินระดับการคุกคามของพื้นที่ชุ่มน้ำตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2559) ซึ่งได้กำหนดระดับการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับวิกฤติอย่างยิ่ง (Severely Critical) ระดับวิกฤติ (Critical) และระดับใกล้วิกฤติ (Near Critical)
7.การจัดทำแผนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
        ในการดำเนินการจัดทำแผนการจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ จะได้นำผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้มาพิจารณาจัดทำแผนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วยประเด็นการดำเนินการตามกระบวนการศึกษาวิเคราะห์การจัดทำแผนการจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ ของประเทศไทย ดังแสดงในรูปที่ 3-2


        รูปที่ 3-2 กระบวนการศึกษาวิเคราะห์การจัดทำแผนการจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ของประเทศไทย
8.การจัดประชุมระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยกระบวนการมีส่วนร่วมต่อผลการศึกษาสถานภาพและผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์
        การจัดประชุมตามกระบวนการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ จะทำการประชุมในพื้นที่จังหวัด ที่พื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ไซต์ ตั้งอยู่ รวม 12 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่แรมซาร์ไซต์ จำนวน 14 แห่ง โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังผลการศึกษาและเสนอแนวคิด ข้อคิดเห็นต่างๆ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ไซต์แต่ละแห่งซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช องค์การบริหารส่วนตำบล) จังหวัด อำเภอ ผู้นำชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ องค์กรปกครองท้องถิ่น (อบจ. /อบต.) เจ้าหน้าที่ภาครัฐส่วนภูมิภาค (ทสจ. ทช. กรมเจ้าท่า กรมประมง สำนักงานจังหวัด) และกลุ่มอาชีพ (เกษตรกรรม ค้าขาย ท่องเที่ยว และประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น) และประชาชนที่เกี่ยวข้องที่อาศัยอยู่ภายในและโดยรอบพื้นที่การประชุมจะจัดให้มีการประชุมในพื้นที่ ๆ ละประมาณ 20-30 คน
9.การจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาโครงการ
        การจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 1 ครั้ง จำนวน 100 คน และนำเสนอผลการศึกษาผ่านกลไก/กระบวนการที่มีอยู่ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น คณะทำงานวิชาการพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขการจัดทำรายงานการศึกษาให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
คลิกเพื่อ Download File บทที่ 3 ฉบับสมบูรณ์   Click