1.ความเป็นมาของโครงการ
        พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์พืช และสัตว์แม้ว่าในปัจจุบันปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการสูญหายและความเสื่อมโทรมของพื้นที่ชุ่มน้ำ คือการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น ทำให้สถานการณ์ของชนิดพันธุ์และระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ มีความเปราะบางเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงและสูญหายของระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำในศตวรรษนี้และจะส่งผลให้ปัจจัยอื่นๆ มีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นบึงน้ำจืดในอดีตที่ผ่านมาโดยเฉพาะปี 2554 และ 2557 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยเป็นระยะเวลานาน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆเนื่องจากพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำและกักเก็บน้ำ ถูกบุกรุก ทำลาย หรือพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เป็นพื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรมและพัฒนาชุมชนเมืองปัญหาดังกล่าวนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีแนวโน้มจะเข้าสู่ขั้นวิกฤต โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่เป็นประจำในทุกๆปี อันมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากมีการเปลี่ยนแปลงการบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือเกิดความเสื่อมโทรมจนไม่สามารถให้บริการของระบบนิเวศและใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำได้
         ประเทศไทยได้มีการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานในระดับนานาชาติ คือ การเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำหรืออนุสัญญาแรมซาร์ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกโดยสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและยั่งยืนประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ในลำดับที่ 110 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2541 รวมถึงการเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทยเข้าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ในทะเบียนรายนามของอนุสัญญาฯ ปัจจุบันประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียน พื้นที่แรมซาร์ไซต์ จำนวน 14 แห่ง สำหรับการดำเนินงานในระดับชาติ ประเทศไทยได้มีการศึกษาสำรวจสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วประเทศ ในปี 2539 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าว ก่อให้เกิดมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นกรอบนโยบายและการดำเนินงานภายในประเทศ ได้แก่ ... อ่านเพิ่มเติม
2.ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
พื้นที่ชุ่มน้ำ
    นิยามและความหมาย
         ตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (ในมาตรา 1.1 และมาตรา 2.1 ของอนุสัญญาได้ให้คำนิยามพื้นที่ชุ่มน้ำไว้ว่า "พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands) หมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือ น้ำท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงชายฝั่งทะเลและที่ในทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด มีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร"
          สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2552) ได้ขยายความพื้นที่ชุ่มน้ำไว้ ดังนี้"พื้นที่ซึ่งมีลักษณะจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงรวมถึง ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อ กระพัง (ตระพัง) บาราย แม่น้ำ ลำธาร แคว ละหาน ชานคลองฝั่งน้ำ สบธาร สระ ทะเลสาบ แอ่งลุ่ม กุด ทุ่ง กว๊าน มาบ บุ่ง ทาม สนุ่น แก่ง น้ำตก หาดหิน หาดกรวด หาดทราย หาดโคลน หาดเลน ชายทะเล ชายฝั่งทะเล พืดหินปะการัง แหล่งหญ้าทะเล แหล่งสาหร่ายทะเล คุ้ง อ่าว ดินดอนสามเหลี่ยม ช่องแคบ ชะวากทะเล ตะกาด หนองน้ำกร่อย ป่าพรุ ป่าเลนป่าชายเลน ป่าโกงกาง ป่าจาก ป่าแสม รวมทั้งนาข้าว นากุ้ง นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น"อย่างไรก็ตามในการกำหนดแนวเขตพื้นที่ชุ่มน้ำตามโครงการจัดการระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญเพื่อการปรับตัวและรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (สผ. 2558) ได้กำหนดแนวเขตพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำปราณบุรี และแนวเขตพื้นที่ชุ่มน้ำหาดท้ายเหมือง โดยมีแนวเขตพื้นที่ยื่นออกไปจากบริเวณชายฝั่ง ตามเขตประมงทะเลชายฝั่ง หรือเขตแหล่งทำการประมงที่อยู่ในทะเล ซึ่งมีระยะตั้งแต่ชายฝั่งทะเลออกไป 3 ไมล์ทะเล ตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2558 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกินกว่าพื้นที่ในทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด มีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร ตามนิยามของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ มาตรา 1 ... อ่านเพิ่มเติม
3.แนวคิดและวิธีการศึกษา
กรอบการศึกษาของโครงการ
        การดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ในการทบทวนสถานภาพ ประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ การจัดทำแผนการจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ของประเทศไทยและพื้นที่ชุ่มที่มีศักยภาพในการเสนอเป็นแรมซาร์ไซต์ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ และผลักดันไปสู่การปฏิบัติถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมาย และการจัดทำรายงานแห่งชาติต่อไปนั้น มีกรอบแนวคิดในการศึกษา ... อ่านเพิ่มเติม
4.การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วย R-METT
        การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ด้วย Ramsar site Management EffectivenessTracking Tool หรือ R-METT ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์และประเมินโดยใช้ข้อมูลสำหรับการประเมินจากแหล่งต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ ผลการศึกษาสถานภาพและการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำจากผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรแต่ละด้าน และการสัมภาษณ์และสอบถามโดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามจะประกอบด้วย2 ชุดข้อมูล ได้แก่ ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ประเมิน การคุกคามพื้นที่ ซึ่งแบบสอบถามชุดที่ 1 นี้จะใช้สอบถามหน่วยงานผู้บริหารจัดการพื้นที่และหน่วยงานผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษาสำรวจทรัพยากรแต่ละด้าน นักวิชาการ และ/หรือ หัวหน้าชุมขน ส่วนแบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ประเมินหน่วยงานผู้บริหารจัดการพื้นที่และหน่วยงานผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่และดำเนินการจัดประชุมระดมความเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมต่อผลการศึกษาสถานภาพและผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำโดยมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ในแต่ละพื้นที่จากภาคประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชน โดยสามารถสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำได้ดังนี้
        ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ด้วยเครื่องมือ R-METT สามารถสรุปประเด็นการประเมินฯ ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การประเมินด้านภัยคุกคามของพื้นที่แรมซาร์ไซต์ 2) การประเมินด้านการบริหารจัดการ และ 3) การประเมินสถานภาพและแนวโน้มของสถานภาพของทรัพยากร มีรายละเอียดดังนี้ ... อ่านเพิ่มเติม
5.การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วย MPA
        แนวทางและข้อกำหนดพื้นที่คุ้มครองทางทะเล หรือ Marine Protected Area (MPA) จัดทำขึ้นโดย International Union for Conservation of Nature (IUCN) ร่วมมือกับ World Wide Fund for Nature (WWF) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกเพื่อการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวชี้วัดรวม 68 ตัวชี้วัด ที่ครอบคลุมทุกด้านในการบริหารจัดการพื้นที่อันประกอบไปด้วย ตัวชี้วัดทางด้านกายภาพ-ชีวภาพ (26 ตัวชี้วัด) ด้านเศรษฐกิจ-สังคม (21 ตัวชี้วัด) และด้านการปกครอง (21 ตัวชี้วัด) ในการศึกษานี้ผู้ศึกษาได้นำตัวชี้วัดทั้งหมดมาใช้ในเพื่อการประเมินผลการบริหารจัดการพื้นที่ โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพื้นที่การสัมภาษณ์และสอบถามโดยการใช้แบบสอบถามจากหน่วยงานผู้บริหารจัดการพื้นที่และหน่วยงานผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษาทรัพยากรแต่ละด้าน นักวิชาการ และ/หรือหัวหน้าชุมชนรวมทั้งการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ประกอบกับข้อมูลจากการประชุมระดมความคิดเห็นในการนำเสนอผลการศึกษาในแต่ละพื้นที่ ... อ่านเพิ่มเติม
6.สรุปและข้อเสนอแนะ
        การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ด้วยวิธี Ramsar site Management Effectiveness Tracking Tool หรือ R-METT และ Marine Protected Area Management Effectiveness Assessment Tool หรือ MPA นั้น ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์และประเมินโดยใช้ข้อมูลสำหรับการประเมินจากแหล่งต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ ผลการศึกษาสถานภาพและการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำจากผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรแต่ละด้าน และการสัมภาษณ์และสอบถามโดยการใช้แบบสอบถามและ ดำเนินการจัดประชุมระดมความเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมต่อผลการศึกษาสถานภาพและผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำสามารถสรุปและเสนอแนะผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้ดังนี้ ... อ่านเพิ่มเติม
7.แผนการจัดการ
        ขออภัย! เนื่องจากขณะนี้กำลังปรับปรุงข้อมูลในส่วนนี้อยู่ครับ ... อ่านเพิ่มเติม
คลิกเพื่อ Download File รายงานหลัก ฉบับสมบูรณ์   Click