บทที่ 4 ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์โดยวิธี R-METT

        การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ด้วย Ramsar site Management EffectivenessTracking Tool หรือ R-METT ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์และประเมินโดยใช้ข้อมูลสำหรับการประเมินจากแหล่งต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ ผลการศึกษาสถานภาพและการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำจากผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรแต่ละด้าน และการสัมภาษณ์และสอบถามโดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามจะประกอบด้วย 2 ชุดข้อมูล ได้แก่ ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ประเมินการคุกคามพื้นที่ ซึ่งแบบสอบถามชุดที่ 1 นี้จะใช้สอบถามหน่วยงานผู้บริหารจัดการพื้นที่และหน่วยงานผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษาสำรวจทรัพยากรแต่ละด้าน นักวิชาการ และ/หรือ หัวหน้าชุมขน ส่วนแบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ประเมินหน่วยงานผู้บริหารจัดการ พื้นที่และหน่วยงานผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่และดำเนินการจัดประชุมระดมความเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมต่อผลการศึกษาสถานภาพและผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำโดยมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในแต่ละพื้นที่จากภาคประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชน โดยสามารถสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำได้ดังนี้
        ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ด้วยเครื่องมือ R-METT สามารถสรุปประเด็นการประเมินฯ ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การประเมินด้านภัยคุกคามของพื้นที่แรมซาร์ไซต์ 2) การประเมินด้านการบริหารจัดการ และ 3) การประเมินสถานภาพและแนวโน้มของสถานภาพของทรัพยากร มีรายละเอียดดังนี้

1.ผลการประเมินด้านภัยคุกคามของพื้นที่แรมซาร์ไซต์
        การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ ด้านภัยคุกคามของพื้นที่แรมซาร์ไซต์เป็นการประเมินการคุกคามที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาและ/หรือ
การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ทำลายคุณค่าของพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น ระดับสูง ระดับกลาง ระดับต่ำ หรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามที่ทำลายคุณค่าของพื้นที่โดยประเด็นที่ใช้ในการประเมินการคุกคามแบ่งออกเป็น 12 ประเด็น60 ตัวชี้วัด ผลการประเมินฯ พบว่าภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่แรมซาร์ไซต์ที่สำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่
        1) การตกตะกอนและการกัดเซาะชายฝั่ง
        2) ของเสียจากภาคเกษตรและป่าไม้
        3) การปลูกพืชยืนต้นและพืชล้มลุกโดยมีรายละเอียดดังนี้
2.ผลการประเมินด้านการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์
        การประเมินประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการของพื้นที่แรมซาร์ไซต์ ได้แบ่งตัวชี้วัดออกได้จำนวน 5 กลุ่มได้แก่ ตัวชี้วัดที่เป็นบริบทของแรมซาร์ไซต์ตัวชี้วัดด้านการวางแผนตัวชี้วัดด้านปัจจัยนำเข้ากระบวนการ บริหารจัดการตัวชี้วัดด้านกระบวนการบริหารจัดการ และตัวชี้วัดด้านผลผลิตและผลลัพธ์ ซึ่งผลการประเมินด้านการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ในภาพรวม มีรายละเอียดดังนี้



        1) ภาพรวมจุดแข็งด้านการบริหารจัดการพื้นที่
        จุดแข็งด้านการบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ ซึ่งเป็นข้อที่ได้คะแนนที่สูงและควรธำรงรักษาไว้และสามารถพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ ผลการประเมินพบว่าจุดแข็งด้าน
การบริหารจัดการพื้นที่ 3 อันดับแรกได้แก่
        (1) สถานภาพทางกฎหมาย
        (2) ประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับชุมชน
        (3) การมีกฎระเบียบสำหรับแรมซาร์ไซต์มีรายละเอียดดังนี้

        2) จุดอ่อน/ข้อควรปรับปรุงด้านการบริหารจัดการโดยรวม
        จุดอ่อน/ข้อควรปรับปรุงด้านการบริหารจัดการโดยรวม เป็นข้อที่ได้คะแนนน้อยเป็นส่วนมาก ซึ่งควรให้ความสำคัญให้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น ได้แก่ผลการ
ประเมินพบว่า จุดอ่อน/ข้อควรปรับปรุงด้านการบริหารจัดการพื้นที่ 3 อันดับแรกได้แก่
        1) ความพอเพียงของงบประมาณในปัจจุบัน
        2) การเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมหรือค่าปรับ
        3) การมีเครื่องมือเพียงพอสำหรับการบริหารจัดการมีรายละเอียดดังนี้

        3) จุดอ่อน/ข้อควรปรับปรุงการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่
        จุดอ่อน/ข้อควรปรับปรุงด้านการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่ เป็นข้อที่มีคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมาก กล่าวคือบางพื้นที่มีความพร้อมและการดำเนินการ แต่บางพื้นที่ไม่มีการดำเนินการเลยดังนั้นในบางพื้นที่ควรให้ความสำคัญกับพัฒนาให้ดีขึ้นได้แก่
        (1) การเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมหรือค่าปรับ
        (2) การมีแผนงานประจำและกำลังดำเนินการแผนงาน
        (3) ขอบเขตของแรมซาร์ไซต์เป็นที่รับทราบและถูกกำหนดไว้
        (4) การให้ผู้ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวสนับสนุนการบริหารจัดการแรมซาร์ไซต์
        (5) การวางแผนสำหรับการใช้ที่ดินและน้ำที่ได้ตระหนักถึงแรมซาร์ไซต์และช่วยเหลือให้บรรลุวัตถุประสงค์
        (6) การมีระบบการควบคุมการเข้าถึง/การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในแรมซาร์ไซต์
        (7) ชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในแรมซาร์ไซต์หรือบริเวณใกล้เคียงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ
        (8) การมีแผนงานการให้การศึกษาที่เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์และความจำเป็น
3.ผลการประเมินด้านสถานภาพและแนวโน้มของทรัพยากร
        การประเมินประสิทธิภาพด้านสถานภาพและแนวโน้มของทรัพยากรได้แบ่งการประเมินสถานภาพของทรัพยากรออกเป็น 4 กลุ่มคือ ดีควรติดตามเป็นระยะต้องเฝ้าระวังและสภาวะวิกฤต และการประเมินแนวโน้มของทรัพยากร ออกเป็น 3 ระดับ คือ แนวโน้มดีขึ้น คงที่ หรือเสื่อมลงซึ่งผลการประเมินด้านสถานภาพและแนวโน้มของทรัพยากรในภาพรวมแต่ละพื้นที่มีรายละเอียดดังนี้

คลิกเพื่อ Download File บทที่ 4 ฉบับสมบูรณ์   Click